วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา
หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและกระบวนการตรวจสอบหรือการประเมินว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร การประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวข้องกับการดำเนินการที่สำคัญ 3  ขั้นตอนดังนี้...
1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control ) เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเพื่อให้สถานศึกษาตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นเป้าหมายและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาซึ่งหลักปฏิบัติทั่วไปมาตรฐานจะกำหนดโดยองค์คณะบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์2. การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit) เป็นการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดขึ้นมากน้อยเพียงไร และมีขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่าการจัดการศึกษาจะเป็นไปอย่างมีคุณภาพ
3. การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาโดยบุคลากรของสถานศึกษาหรือโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลในเขตพื้นที่และหน่วยงานต้นสังกัดในส่วนกลางที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา  

ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา
1. ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
2. ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ มีการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็น ที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน
3. ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำและความรู้ ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบและมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
4. กรรมการสถานศึกษาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ และมีส่วนพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชนและชุมชนร่วมกับผู้บริหารและครู สมควรที่ได้รับความไว้วางใจให้มาเป็นกรรมการสถานศึกษา
5. หน่วยงานที่กำกับดูแล ได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเองซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับ ดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษา
6. ชุมชนและสังคมประเทศชาติ ได้เยาวชนและคนที่ดี มีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยพัฒนาองค์กร ชุมชน และสังคมประเทศชาติต่อไป
7. ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการของหน่วยงาน 

SAR:
SAR : เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ภายในหน่วยงานให้บุคคลภายนอก และหรือบุคคลทั่วไปรับทราบ ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง แนวทางแก้ไข แนวทางเสริม เพื่อแก้ไขพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงาน ของหน่วยงาน SAR : ทำขึ้นเพื่ออะไร......
1. เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานของตนเองต่อผู้เกี่ยวข้อง และต่อสาธารณชน
2. เพื่อการตรวจสอบจากภายใน
3. เพื่อการตรวจสอบจากภายนอก

ใครเป็นผู้จัดทำ SAR
1. SAR ระดับบุคคล ครู ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และบุคลากรในหน่วยงานทุกคนต้องเขียน(แฟ้มงาน)
2. SAR ระดับโรงเรียน และหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้บริหารสถานศึกษา หรือหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต้องเป็นผู้จัดทำ โดยได้รับความร่วมมือจากครู และบุคลากรทุกคน ซึ่งต้องนำข้อมูลจาก SAR ระดับบุคคลมาสรุป แล้วเขียนเป็น SAR ระดับโรงเรียน ในการจัดทำ SAR ระดับโรงเรียนต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่าย และทุกคน
องค์ประกอบของ SAR 
1. ส่วนหน้า ประกอบด้วย
  • ปกหน้า
  • ปกรอง
  • คำนำ
  • สารบัญ
  • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
2. ส่วนนำ ประกอบด้วย
  • ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
  • ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย ของสถานศึกษา
  • หลักสูตรสถานศึกษา
  • ข้อมูลนักเรียน ครู และบุคลากร
  • โครงสร้างการบริหารสถานศึกษา
  • ผลงานเด่นในรอบปีการศึกษาของสถานศึกษา(ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา)
  • ระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษา
  • มาตรฐานและตัวบ่งชี้
3. ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้
  • สภาพการดำเนินงานรายตัวบ่งชี้แต่ละมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง พร้อมชี้จุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนา ตลอดทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในโอกาสต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น