วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลักการดูแลเด็กปฐมวัย

เด็กวัยนี้เป็นวัยที่ต้องการเสริมสร้างพัฒนาการทุกด้าน ทั้ง ทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา เนื่องจากเด็กเริ่มเรียนรู้การติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆได้ดีขึ้น ทั้งคนในครอบครัวและคนนอกครอบรัว โดยเฉพาะกับเพื่อน วัยเดียวกันเด็กจะรู้จักปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆและรู้จักร่วม มือในการเล่นกับกลุ่มเพื่อน ดังนั้นเด็กวัยนี้ควรได้รับการ ส่งเสริมให้เล่นกับคนอื่น และเป็นวัยเหมะสม ในการส่งเด็ก ไปเข้าโรงเรียนอนุบาล หรือศูนย์เด็กในชุมชนใกล้ๆ บ้าน เด็กจะมีโอกาสได้ติดต่อกับคนอื่นๆ และเรียนรู้สังคมที่แตก ต่างจากครอบครัวตนเอง เด็กจะสามารถปรับตัวได้ดีกว่า เด็กที่ไม่เคยเข้าเข้าโรงเรียนหรือไปอยู่ศูนย์เด็ก พ่อแม่หรือ ผู้เลี้ยงดูเด็กควรช่วยเด็กเตรียมใจที่จะไปเรียนรู้สังคมนอกบ้าน ด้วยการสร้างความรู้ที่ดีให้กับ เด็ก เช่น การพูดคุยเกี่ยวกับโรงเรียน หรือพาไปเที่ยวศูนย์พัฒนาเด็ก ไปเล่นเครื่องเล่นที่ศูนย์เด็ก ไปดูการจัดกิจกรรมในโรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็ก และต้องไม่ขู่เด็กว่าจะทิ้งเด็กไว้ที่ศูนย์เด็กหรือโรงเรียน เพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยและมีความมั่นใจที่จะเรียนรู้โลกกว้างด้วยความสุข อบอุ่น และรู้สึกปลอดภัย ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีในการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก

1.. อาหารสำหรับเด็กวัย 3-5 ปี
เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่เด็กชอบเคลื่อนไหว ไม่อยู่นิ่ง ขอบเล่นและ ทำกิจกรรมตลอดเวลา จึงต้องเสียพลังงานไปมาก ดังนั้น เด็กต้องได้รับอาหารอย่างเพียงพอเพื่อชดเชยพลังงาน ที่เสียงไป พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กต้องจัดให้เด็กรับประทานอาหารหลายมือใน 1 วัน เช่น เพิ่มอาหารว่างระหว่างมื้อ เช้าและมื้อกลางวัน และในช่วงบ่ายหลังจากเด็กตื่นนอนก็ควรได้รับอาหารว่างอีก 1 มื้อ
อาหารที่เด็กอายุ 3-5 ปี ควรจะได้รับใน 1 วัน
1. ผัก ควรให้เด็กได้รับประทานผักทุกวัน ผักมีหลายสีและคุณค่าต่างกัน เช่น มะเขือเทศ ฟักทอง ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักตำลึง เป็นต้น ในผักมีวิตามินมากมาย ควรรับประทานวันละ 4-8 ช้อนโต๊ะ
2. เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ต่างๆ รวมถึงอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลา และตับ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ให้เด็กได้รับประทานวันละ 2-4 ช้อนโต๊ะ ในเนื้อสัตว์มีโปรตีนและธาตุเหล็ก
3. ไข่ ไข่เป็นและไข่ไก่ควรรับประทานวันละ 1 ฟอง ในไข่มีโปรตีนและธาตุเหล็ก
4. น้ำนม นมวัวหรือนมถั่วเหลือง อย่างน้อยวันละ 2-3 ถ้วย ในนมมีแคลเซียม วิตามินมากมาย
5. ธัญพืช เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง งา ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง ลูกเดือย มีวิตามินมากมาย
6. ผลไม้ต่างๆ ควรให้เด็กรับประทานผลไม้ให้มากๆ ได้แก่ ส้ม มะละกอ กล้วย ฝรั่ง ผลไม้มีวิตามินซี เป็นประโยชน์ต่อเด็กวัยเจริญเติบโต
7. ข้าวสุก ข้าวเหนียว รับประทานวันละ 2-3 ถ้วย ข้าวเจ้าเป็นอาหารรับประทานกับข้าว ส่วนข้าว เหนียวรับประทานกับหมูปิ้ง ไก่ย่าง หรือเป็นขนมก็ได้ ข้าวจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในร่างกาย
8. ไขมันหรือนำมัน ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและเพิ่มพลังงาน ให้อย่างน้อยวันละ 2-3 ช้อนโต๊ะ อาจเป็นอาหารทอด เช่น ไก่หรือหมูทอด และของว่า เช่น กล้วยทอด เป็นต้น
เมื่อเด็กอายุเข้าขวบปีที่ 3 ฟันน้ำนมจะแข็งแรงพอที่จะขบเคี้ยวอาหารแข็งได้แล้ว อวัยวะสำหรับ ย่อยอาหารสามารถทำงานได้ดีขึ้น จึงเหมาะที่จะฝึกให้เด็กรับประทานอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์ รวมทั้งการฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองในการรับประทานอาหาร และปลูกฝังเรื่องมารยาทในการรับประทานอาหารอย่างง่ายๆ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรคาดหวังกับเด็กมากเกินไป เช่น ต้องการให้เด็กกินอาหารไม่หกเลอะเทอะ กินอาหาร ที่จัดเตรียมไว้ให้หมด หรือต้องการให้เด็กกินอาหารทุกชนิดที่จัดเตรียมให้ ถ้าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก เคี่ยวเข็ญ เด็กมากเกินไม เด็กจะต่อต้านและไม่ยอมทำตามที่ผู้ใหญ่คาดหวัง ทำให้เกิดปัญหาในการรับประทานขึ้น
การส่งเสริมสุขนิสัยในการกินอาหารของเด็ก
1. แม้ว่าเด็กจะไม่ยอมกินอาหารบางชนิด แต่ถ้าเด็กยังมีน้ำหนักปกติ พ่อแม่ไม่ควรวิตกกังวล ควรให้ อาหารเด็กให้เหมาะสมกับความต้องการ ปล่อยให้เด็กกินอาหารตามสบาย ไม่จุกจิกกับเด็ก สร้างบรรยากาศ ให้แจ่มใสและเป็นเวลาแห่งความสุข
2. การเลือกอาหาร เด็กส่วนมากจะกินอาหารแบบผู้ใหญ่ได้ แต่ต้องรสอ่อนและทำให้อาหารนิ่มกว่า ของผู้ใหญ่แต่อาหารบางชนิด เช่น ผักที่มีกลิ่นฉุน เช่น ผักชี ต้นหอมหรือผักที่มีความแข็ง เช่น คะน้า เด็กอาจ ไม่ยอมกินเพราะเหม็นหรือแข็ง พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กควรหลีกเลี่ยงและใช้ผักอื่นทดแทน จะทำให้เด็กเกิด ความรู้สึกที่ดีต่อการกินอาหาร
3. การไม่ยอมกินอาหาร เมื่อเด็กอายุประมาณ 4-5 ปี เด็กมักจะปฏิเสธไม่อยากกินอาหาร ไม่ชอบ อาหารที่มีอยู่ อาจเป็นเพราะเด็กห่วงเล่น หรือได้กินอาหารอื่นๆ เช่น ขนมขบเคี้ยวหรือขนมหวาน ก่อนถึงเวลา อาหาร ดังนั้น พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กต้องเชิญชวนให้เด็กรับประทานอาหารบ้าง เมื่อชักชวนให้เด็กวัย รับประทานข้อนแรกได้แล้ว เด็กก็จะลือมความหงุดหงิดและกินอาหารต่อไปได้ ฉะนั้น พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู เด็กต้องใจเย็น อดทน และไม่ควรให้เด็กกินขนมหรือนมก่อนเวลาอาหาร เพราะจะทำให้เด็กอิ่ม
4. อย่าให้เด็กอมข้าวในปากนานเกินไป เพราะน้ำลายจะละลายเม็ดข้าวให้เป็นนำตาล เด็กจะ ไม่รู้สึกหิวและไม่ยอมกินอาหารต่อไป
5. สำหรับเด็กที่ไม่ชอบกินข้าว ควรให้กินอาหารประเภทอื่นทดแทนบ้างเป็นบางมื้อ เช่น ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมปัง แกงจืด อย่าบังคับให้กินข้าวทุกมื้อทุกวัน


2. การตรวจสุขภาพ
เด็กควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งและได้รับการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ตรวจความ ผิดปกติขิงร่างกาย ลักษณะความพิการบางประการจะตรวจพบได้ในวัยนี้ เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือหู
หนวก สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุให้พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กลดน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าตรวจพบ ควรแก้ไข และช่วยเหลือเด็กทันที
การสร้างภูมิคุ้มกันโรค เมื่อเด็กอายุ 4 ปี ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และไปลิโอ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดโรคขึ้น หลังการฉีดวัคซีน เด็กอาจเป็นไข้ ปวดบวมบริเวณที่ฉีด แต่อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียง 2-3 วัน เด็กบางคนก็จะไม่มีความผิดปกติเกิดขึ้น หลังจาก ฉีควัคซีนแพทย์หรือพยาบาลมักจะให้ยาลดไข้หรือแนะนำให้เช็ดตัวเพื่อลดไข้ให้เด็ก เด็กบางคนอาจมีไข้สูงหลัง ฉีดวัคซีน ควรรีบปรึกษาแทพย์



2. การตรวจสุขภาพ
เด็กควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งและได้รับการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ตรวจความ ผิดปกติขิงร่างกาย ลักษณะความพิการบางประการจะตรวจพบได้ในวัยนี้ เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือหู
หนวก สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุให้พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กลดน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าตรวจพบ ควรแก้ไข และช่วยเหลือเด็กทันที
การสร้างภูมิคุ้มกันโรค เมื่อเด็กอายุ 4 ปี ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และไปลิโอ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดโรคขึ้น หลังการฉีดวัคซีน เด็กอาจเป็นไข้ ปวดบวมบริเวณที่ฉีด แต่อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียง 2-3 วัน เด็กบางคนก็จะไม่มีความผิดปกติเกิดขึ้น หลังจาก ฉีควัคซีนแพทย์หรือพยาบาลมักจะให้ยาลดไข้หรือแนะนำให้เช็ดตัวเพื่อลดไข้ให้เด็ก เด็กบางคนอาจมีไข้สูงหลัง ฉีดวัคซีน ควรรีบปรึกษาแทพย์



4. การนอนและการพักผ่อน
การนอนและการพักผ่อนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กมีสุขภาพดี เด็กที่ได้นอนและพักผ่อน อย่างเพียงพอมักมีสุขภาพสมบูรณ์และมีอารมณ์แจ่มใส เด็กวัย 3-5 ปี จะเคลื่อนไหวร่างกาย วิ่งเล่นเกือบ ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องนอนและพักผ่อนให้เพียงพอ
1. สุขนิสัยด้านการนนของเด็กวัยก่อนเรียน
การนอนและพักผ่อนอย่างถูกสุขลักษณะของเด็กควรมีลักษณะดังนี้
1) ให้เด็กนอนและพักผ่อนเป็นเวลาได้โดยไม่ต้องบังคับ เด็กวัย 3-5 ปี ควรให้นอนคืนละอย่างน้อย 10 ชั่วโมง
2) ให้เด็กนอนพักกลางวันและรู้จักพักผ่อนเมื่ออ่นเพลีย เด็กควรได้พักผ่อนและนอนตอนบ่าย จะหลับหรือไม่ก็ได้
3) ให้เด็กรู้จักปฏิบัติตนเอย่างสุขลักษณะก่อนเข้านอน ได้แก่ การทำความสะอาดร่างกายและ จัดเครื่องใช้ในการนอนเองได้
2. วิธีส่งเสริมให้เด็กนอนอย่างมีความสุข
การช่วยให้เด็กนอนหลับพักผ่อนอย่างมีความสุขนั้น ควรปฎิบัติดังนี้
1) การช่วยให้เด็กเข้านอนเป็นเวลา เพื่อให้เด็กพักผ่อนเต็มที่ โดยกำหนดเวลาไว้อย่างกว้างๆ เช่น 20.00 - 21.00 น. ปัจจุบันเด็กติดรายการโทรทัศน์กันมาก ทำให้นอนไม่เพียงพอ จึงควรทำความตกลงกับเด็ก ว่าจะอนุญาตให้นอนดึงได้ในวันใด เช่น คืนวันศุกร์และวันเสาร์ ซึ่งเด็กไม่ต้องรีบตื่นแต่เช้าในวันรุ่งขึ้น 2) ให้เด็กทำความสะอาดร่างกายก่อนเข้านอน เช่น แปรงฟัน ล้างหน้า ล้างมือ ล้างเท้า และ ปัสสาวะ แต่งกายด้วยเสื้อผ้าเบาและหลวมเพื่อให้นอนสบาย และฝึกให้ปูและเก็บเครื่องนอนเอง
3) ห้องนอนของเด็กควรสะอาด ถูกสุขลักษณะ มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป มีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มียุงและแมลงต่างๆ รบกวน ไม่สว่างหรือมืดเกินไป ให้เด็กสวมเสื้อผ้าที่เหมาะกับอากาศ และห่มผ้าเมื่อากาศเย็น
4) บรรยากาศขณะเด็กเข้านอนควรจะสงบ ควรปิดโทรทัศน์ก่อนนอน อาจมีตุ๊กตาหรือหมอน กอดเพื่อให้เด็กรู้สึกว่ามีเพื่อน พ่อแม่ควรอยู่เป็นเพื่อนลูกถ้าลูกต้องการควรสอนให้ลูกสวดมนต์ทำจิตใจ ให้สงบก่อนเข้านอน นอกจากนี้ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเล่านิทานหรืออ่านหนังสือให้ลูกฟังก่อนนอน ซึ่งเป็นการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กอีกด้วย
5) การส่งเสริมให้เด็กนอนกลางวันจะชวยให้ร่างกายของเด็กได้พักผ่อน ควรให้เด็กได้นอนนิ่งๆ แม้จะไม่หลับ โดยให้นอนอ่านหนังสือภาพ หนังสือการ์ตูน กอดตุ๊กตาเมื่อเด็กตื่นควรให้ความเอาใจใส่ดูแล ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้งขณะนอนหลับ เมื่อเด็กโตขึ้นมักไม่ยอมนอนกลางวัน ก็ควรให้นั่งนอนเล่น อย่างสงบ ตอนเย็นรีบให้กินอาหารและเข้านอนแต่หัวค่ำเพื่อให้เได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
6) นอกจากการเข้านอนและพักผ่อนแล้ว เด็กควรตื่นตอนเช้าได้อย่างสดชื่นแจ่มใส ถ้าเด็กไป โรงเรียอนุบาลหรือศูนย์เด็กปฐมวัย เด็กควรตื่นแต่เช้า พ่อแม่อาจให้นาฬิกาปลุกแก่เด็กเพื่อให้ตื่นตามเวลา ถ้าเด็ก ตื่นสายไม่ควรเกรี้ยวกราด อารมณ์เสียใส่เด็ก เพราะจะทำให้เด็กไม่สบายใจ ไม่สดชื่นไปทั้งวัน ควรพูดกับเด็ก ด้วยน้ำเสียงปกติ เช่น พูดว่า “เช้านี้อากาศดี ลุกคงไม่อยากลุกจากที่นอน แต่ก็ต้องรีบแต่งตัวไปโรงเรียนนะลูก” คำพูดลักษณะนี้แสดงให้เด็กเห็นว่าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กเข้าใจเด็ก เด็กก็จะรีบลุกจากที่นอนโดยไม่หงุดหงิด


5. การฝึกการขับถ่ายสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี
เด็กวัย 3-5 ปี ควรใฃได้รับการส่งเสริมให้มีสุขนิสัยในการขับถ่ายดังต่อไปนี้
1. ส้วมในบ้านหรือโรงเรียนควรสะอาด ไม่มีกลิ่นขนาดของส้วมควรเหมาะสมกับเด็ก มีแสงสว่างเพียงพอ กลอนประตูเปิดปิดได้ง่าย อากาศถ่ายเทได้สะดวก
2. ฝึกให้เด็กสามารถใช้ห้องส้วมได้เอง รู้จักวิธีล้างกัน ราดน้ำทำความสะอาดโถส้วม และล้างมือให้ สะอาด
3. ฝึกให้เด็กขับถ่ายเป็นเวลา เช่น ให้ปัสสาวะหลังกินอาหารทุกมื้อและก่อนนอน ให้นั่งส้วมถ่าย อุจจาระในเวลาเช้า
4. อธิบายให้เด็กเห็นความจำเป็นในการขับถ่ายเด็กบางคนไม่อยากถ่าย จึงต้องอธิบายให้เข้าใมจว่า คนเรากินอาหารและดื่มน้ำทุกวัน ต้องขับถ่ายกากอาหารออกมา มิฉะนั้นจะเจ็บป่วย เมื่อเด็กเข้าใจก็จะพยายาม ถ่ายทุกวัน
5. สำหรับเด็กที่ทอ้งผูกมาก ควรฝึกให้เคี้ยวอาหารให้ละเอียด พยายามเข้าส้วมเป็นเวลา ให้กินอาหารประเภทผัก ผลไม้ เช่น กล้วย สับปะรด และดื่มน้ำผลไม้ให้มาก เมื่อรู้สึกปวดอุจจาระให้รีบเข้าส้วม อย่ากลั้นเอาไว้
6. หลักจากอายุ 3 ปี เด็กควรกลั้นปัสสาวะได้พอควร ไม่ปล่อยให้ราด และไม่ควรปัสสาวะ รดที่นอน บ่อย เด็กที่มีปัญหาเรื่องปัสสาวะราดหรือรดที่นอน อาจเป็นเพราะห้องน้ำมืด ส้วมสูงเกินไปเด็ก กลัวตกส้วม หรือกลัวแมลงสัตว์ต่างๆ ที่อยู่ในส้วม ท่อปัสสาวะอักเสบ ไม่เคยฝึกหัดการขับถ่ายมาก่อน หรือเด็ก บางคน อาจมีปัญหาด้านอารมณ์ เช่น อิจฉาน้อง วิธีแก้ไขควรทำดังนี้ 1) หาสาเหตุและแก้ปัญหาเกี่ยวกับห้องส้วม รวมทั้งควรอยู่เป็นเพื่อนเด็กให้หายกลัว สำหรับบ้าน ที่ใช้ส้วมชักโครก ผู้ใหญ่ต้องไม่กดหรือไม่ทำให้น้ำไหลซู่ขณะเด็กสั่งส้วม เด็กอาจตกใจ ควรให้เด็กกดเอง
2) ให้เด็กปัสสาวะก่อนนอนและทุกครั้งที่ตื่น ผู้ใหญ่ควรชมเชยเด็กที่ลุกไปปัสสาวะเองได้ เด็กจะได้มีความเชื่อมั่นในตนเอง รวมทั้งควรให้เด็กดื่มน้ำก่อนนอนให้น้อยลงสำหรับผู้ที่ปัสสาวะรดที่นอนบ่อยๆ


6. การฝึกสุขนิสัยสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็ก
“สุขนิสัย” ในความเข้าใจของพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น เรามักจะหมายถึงการฝึกให้เด็กรู้จักปฏิบัติ ตนเพื่อให้มีสุขภาพดี เช่น รู้จักการแปรงฟัน สามารถแปรงฟันเองได้ หลังรับประทานอาหารและก่อนนอน หรือ สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย ซึ่งสุขนิสัยเหล่านี้ของ เด็กมักจะสร้างปัญญหาให้กับผู้เลี้ยงดูเด็กหรือผู้ปกครองเสมอๆ ในฐานะของผู้เกี่ยวข้องกับเด็ก เราจะต้องทราบ ว่าทำอย่างไรจึงจะให้เด็กเกิดลักษณะนิสัยที่ดี เด็กส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาในเรื่องต่อไปนี้ คือ
1. การรับประทานอาหาร ผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องกระตุ้นให้เด็กรับประทานอาหารกลางวันและ อาหารว่างให้เพียงพอ รวมทั้งการฝึกให้มีมารยาทในการรับประทานอาหาร เด็กปฐมวัยจะมีปัญหาเรื่องการ รับประทาน เพราะไม่ชอบอาหารบ้าง ห่วงเล่นบ้าง บางคนมีปญหาทางสุขภาพ เบื่ออาหาร ฟันผุ ไม่อยากเคี้ยว อาหารก็มี ดังนั้น ต้องหากิจกรรมช่วย เช่น แบ่งหน้าที่ให้เป็นคนแจกซ้อน คอยดูแลกิจกรรมช่วย เช่น แบ่งหน้าที่ ให้เป็นคนแจกช้อน คอยดูแลเพื่อนให้รับประทานอาหารให้หมด หรือช่วยแจกขนม ผลไม้ให้เพื่อน สิ่งเหล่านี้เด็กๆ อยากทำ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจมีนิทานหรือละครเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ ผลเสียที่เกิดจากการ รับประทานอาหารน้อย เล่าให้ฟัง จะช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากรับประทานอาหารมากขึ้น
2. การนอน การนอนกลางวันเป็นสิ่งยากเข็ญสำหรับเด็ก เพราะไม่ชอบนอน เขาอยากจะเล่น อยากกระโดด ถ้ามีเด็กที่นอนไม่หลับในห้องสัก 1-2 คน เขาจะทำให้เพื่อนหลายๆ คนตื่นขึ้นมา ดังนั้น ก่อนนอน ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องทำกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น ในช่วงเช้าควรมีการเล่นกลางแจ้ง กิจกรรมที่เหมาะสม เช่น ในช่วง เช้าควรมีการเล่นกลางแจ้งให้เด็กได้ออกกำลังกาย เพราะเด็กวัยนี้ขอบกระโดดโลดเต้น เมื่อเขาได้ออก กำลังจะ ช่วยให้เขานอนหลับได้ง่ายขึ้น หลังจากรับประทานอาหารกลางวันแล้ว ให้เด็กๆ ล้างมือ ล้างหน้า แปรงฟัน เตรียม ตัวเข้านอน ก่อนนอนควรจะมีการสวดมนต์หรือนั่งสงบสักระยะหนึ่ง ก่อนนอนควรจะมีการสวดมนต์ หรือนั่งสงบ สักระยะหนึ่ง จะช่วยให้เด็กสงบลงได้ แต่อย่าให้นานเกินไปเด็กจะเบื่อ พอเสร็จแล้วก็ให้นอน ตอนนอนอาจ เปิดวิทยุเป็นเพลงเบาๆ หรือเล่านิทาน แต่ไม่ควรเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นหรือน่ากลัว นิทานที่เล่าควรจะสั้นและน่าฟัง ในการเล่า เสียงมีความสำคัญ ตอนแรกผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเล่าเสียงดัง แล้วก็ค่อยเบาลงๆ เพื่อให้เด็กหลับถ้ายังมี เด็กที่ไม่หลับก็ต้องเข้าไปนั่งใกล้ๆ ในตอนแรกอาจลูบหลัง ลูบแขน เพื่อให้เด็กหลับ
3. การใช้ห้องน้ำ พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องดูแลการใช้ห้องน้ำโดยใกล้ชิด สอนให้เด็กรู้จักการ ใช้ห้องน้ำที่ถูกวิธี และพยายามให้เด็กช่วยเหลือตัวเองให้ได้ ฝึกให้เด็กราดน้ำทุกครั้งหลังจากใช้ ดังนั้นผู้เลี้ยงดูเด็ก จะต้องเป็นผู้พาเด็กไปเข้าห้องน้ำ ไม่ควรให้เด็กไปโดยลำพัง เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุลื่นหกล้มหรืออาจ ทำสกปรก ไว้ได้ ที่สำคัญต้องฝึกให้เด็กได้รู้จักการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา เช่น การทำกิจกรรมตอนเช้า หรือหลังการเคารพ ธงชาติ การบริหาร ควรให้เด็กเข้าห้องน้ำ 1 ครั้งหลังดื่มนม ตอนประมาณ 10 นาฬิกาอีก 1 ครั้ง หลังรับประทาน อาหารกลางวัน แปรงฟันก่อนนอนอีกครั้ง 1 ครั้ง ถ้าเด็กเล็กก็อาจพาไปเข้าทุก 1-2 ชั่วโมงหรือในฤดูหนาว เด็กต้องการใช้ห้องน้ำบ่อยขึ้น สิ่งสำคัญคือผู้เลี้ยงดูเด็กต้องเป็นผู้ดูแลการใช้ห้องน้ำและให้ปัสสาวะทุกครั้ง เพื่อไม่ให้กลั้นปัสสาวะ
4. การรักษาความสะอาด เด็กๆ มักจะไม่ค่อยระวังเรื่องความสะอาด เนื่องจากเด็กยังไม่เข้าใจถึง อันตรายของสิ่งสกปรกรอบๆ ตัว เช่น เรื่องการล้างมือ ต้องฝึกให้ติดเป็นนิสัย ถ้ามือสกปรกหลังจากหยิบจับของเล่นหรือดินน้ำมันต้องล้างมือ ในระยะแรกอาจต้องพาไปล้างและตรวจดูมือว่าเด็กล้างสะอาดหรือไม่ ในการฝึกการรับษาความสะอาดอาจใช้เพลงหรือเล่านิทานให้เด็กฟัง ให้เด็กร้องเพลงเกี่ยวกับการรักษาความ สะอาดทุกวัน จะทำให้เด็กเกิดความเคยชินกับสุขนิสัยที่ดี
5. การรู้จักเก็บของเล่นเข้าที่ ปัญหาที่พบอยู่เสมอคือการเล่นแล้วไม่เก็บ เมื่อบอกให้เก็บของเล่นก็มัก โยนไว้ข้างๆ บางคนติดมาจากบ้านเพราะไม่เคยต้องเก็บ ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องฝึก ในขั้นแรกอาจให้เล่นของเล่นครั้งละ 1-2 อย่าง เช่น เล่นไม้บล็อกกับเล่นเพลาสติกสร้างสรรค์ มีข้อตกลงว่าเล่นเสร็จแล้วต้องช่วยกันเก็บ เมื่อทำได้ก็ ต้องชม อย่าไปคำนึงถึงความเรียบร้อยมากนัก แล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนของเล่นให้มากขึ้น ที่สำคัญคือ ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องฝึกให้สม่ำเสมอ ทำให้เป็นนิสัย หลังจากนั้นจึงเพิ่มความเรียบร้อยในการเก็บของเล่นให้มากขึ้น
สิ่งสำคัญในการอบรมและฝึกสุขนิสัยให้กับเด็กก็คือ ความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ ที่ผู้เกี่ยวข้องมีให้กับเด็ก โดยเฉพาะเด็กวัยนี้เหมาะสมกับการฝึกลักษณะนิสัยที่ดีงาม



7. เมื่อเด็กหนูสู่โลกกว้าง
เมื่อเด็กอายุเข้าขวบปีที่ 3 ก็พร้อมที่จะเข้าโรงเรียนอนุบาลหรือไปรับบริการจากสถานที่ที่รับเลี้ยงเด็ก ปฐมวัย เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้แล้ว พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถช่วยเด็กเตรียมตัวเตรียมใตที่จะไปเรียนรู้ โลกกว้างได้ด้วยการสร้างทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียน ด้วยการเล่าเรื่องเกี่ยวกับโรงเรียน พาเด็กๆ ไปอยู่ในโรงเรียนก่อนที่จะเข้าเรียน ไปเล่นเครื่องเล่น ไม่ขู่เด็กว่าจะทิ้งไว้ที่โรงเรียนถ้าทำตัวไม่ดี นอกจากนั้น ต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อคุณครูของเด็กด้วยการพูดคุยกับเด็ก ถ้าเป็นไปได้ควรทำความคุ้นเคยรู้จักกับคุณครูก่อน พาเด็กไปดูการจัดกิจกรรมในโรงเรียนว่าพี่ๆ เขาได้เล่นอะไรบ้าง และที่สำคัญต้องฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ เช่น รับประทานอาหารเอง บอกได้เมื่อต้องการขับถ่าย ฝึกนั่งกระโนหรือส้วม บอกชื่อตนเอง แต่งตัวเอง เป็นต้น
พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กจะสามารถเตรียมให้เด็กออกสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นใจ เป็นคนดีและเก่งได้ ดังนี้
1. ส่งเสริมให้เด็กเชื่อมั่นในตนเอง ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเอง แม้จะต้องสกปรก เลอะเทอะบ้าง ไม่ถูกใจพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กก็ตาม หลีกเล่ยงการบังคับขู่เข็ญหรือต่อล้อต่อเถียง ทำโทษรุนแรง แต่ใช้วิธีอบรมสั่งสอนด้วยความเข้าใจ สนใจ ชมเชย เมื่อทำสิ่งที่ควรและช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ
2. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักฟัง เรียบเรียงความคิด ฝึกการใช้ภาษา ด้วยการถามให้เด็กแสดงความคิดเห็น พูดถึงเรื่องราวหรือแสดงท่าทางตามที่เด็กเข้าใจ หลังจากที่เด็กได้พบกับเหตุการณ์ต่างๆ หรือจากที่พ่อแม่หรือ ผู้เลี้ยงดูเด็กเล่านิทานให้ฟัง
3. ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ด้วยการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ด้วยความรักและเข้าใจ ซึ่งจะทำให้เด็กมีโอกาสโต้ตอบ สร้างความคุ้นเคย ทำให้เกิดความรักความผูกพันและรู้สึกได้รับความรัก
4. ส่งเสริมให้เด็กรู้สึกสนุก มีความสุขกับการกระทำสิ่งที่สร้างสรรค์ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กไดเรียน รู้เล่น และฝึกทำสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรและปลอดภัย
5. ส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้ที่มีความเป็นมิตรและเป็นที่ยอมรับในสังคมได้ง่าย ด้วยการยิ้มแย้ม สัมผัสเด็ก อย่างอ่อนโยน คอยสังเกตการแสดงของเด็ก สนใจที่จะตอบคำถามและเล่าเรื่องต่างๆ ที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อให้เด็กรู้ภาษาได้เร็วและมีกำลังใจใฝ่เรียนรู้ที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเราตั้งแต่เล็กๆ
6. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักแยกแยะสิ่งที่เป็นคุณเป็นโทษ ด้วยการทำตัวเป็นแบบอย่างในการรู้จักกาลเทศะ รู้จักรับผิดชอบ ทำแต่สิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อชีวิต
7. ส่งเสริมให้เด็กมีจิตใจมั่นคงไม่สับสน ด้วยการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเมตตาเป็นแบบ อย่างที่ดีงามในการใช้เหตุผลอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ฝึกให้เป็นคนรู้จักคิด มีน้ำใจและคุณธรรม หลีกเลี่ยง การทำโทษรุนแรงหรือละเลยทอดทิ้งเด็ก ใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ อยู่กับลูก ให้ความสนใจต่อกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยความรักความเข้าใจ
8. ส่งเสริมให้เป็นเด็กใฝ่รู้ กล้าแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ ด้วยการให้ความสนใจในสิ่งที่เด็กกำลังทำ ตอบคำถามของเด็ก ฝึกให้เด็กสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้โอกาสที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเองอย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูกในโอกาสที่ไม่เสียหาย และเป็นอันตราย
9. ส่งเสริมให้เด็กเกิดแรงจูงใจที่จะทำสิ่งที่ดีๆ ด้วยการให้ความสนใจ ชมเชยหรือให้รางวัล ตามควรทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงปรารถนา เช่น ไหว้ผู้ใหญ่ เล่นกับน้อง ช่วยหยิบของ พูดเพราะ รับฟังและ ปฏิบัติตามคำแนะนำ
10. ส่งเสริมการใช้ภาษษของเด็ก ด้วยการพูดคุยกับเด็กด้วยภาษาที่ฟังเข้าใจง่ายและชัดเจน ด้วยท่าทางที่เป็นมิตร อาจใช้การเล่านิทาน อ่านหนังสือให้ฟัง เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ฟัง


8. การเลี้ยงดูเด็กให้เก่ง ดี และมีความสุข
การเลี้ยงดูเป็นการกระตุ้นและตอบสนองระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กเพื่อให้เด็กเรียนรู้ และมีประสบการณ์ที่ดี พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กทุกคนต้องการให้เด็กเป็นคนดีและประพฤติตัวน่ารัก บางครั้งเมื่อเด็กทำตัวไม่เหมาะสม เช่น ดื้อรั้น ร้องกวน หรือไม่ยอมฟังคำอธิบาย พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กไม่รู้วิธีการแก้ปัญหา จึงใช้การดุว่าหรือทำโทษเด็ก แต่ก็จะได้ผลเพียงเวลาสั้นๆ เด็กก็จะกลับมามีพฤติกรรมแบบเดิมอีก

หลักในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม มีดังต่อไปนี้
1. การใช้เหตุผล สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี การอธิบายเหตุผลอย่างสั้นๆ และตรงไปตรงมา ทำให้เด็ก เข้าใจและปฏิบัติตามสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการได้ แต่ควรใช้คำพูดง่ายๆ สั้นๆ

2. การใช้ท่าทีที่หนักแน่นและจริงจัง เมื่อผู้เใหญ่บอกให้เด็กทำอะไรแล้วยังอิดออดไม่ยอมทำในทันที ผัดผ่อนไปเรื่อยๆ วิธีที่จะได้ผลคือ ใช้คำสั่งด้วยท่าทีที่หนักแน่นและจริงจัง เช่น “ลูกทำการบ้านเดี๋ยวนี้” ถ้าลูกยังอิดออด นั่งเฉย และโต้กลับไปว่า “เดี๋ยวก่อน” เมื่อแม่เตือนอีกครั้งยังนิ่งเฉย แม่จำเป็นต้องเดินไป จูงมือลูกหยิบสมุดการบ้านและพูดด้วยน้ำเสียงหนักแน่น “ลูกหยิบสมุดมาทำการบ้านเดี๋ยวนี้” และนั่งเฝ้าถ้าจำเป็น
การใช้คำสั่งจะให้ได้ผลดี พ่อแม่ควรมีท่าทีที่หนักแน่นและจริงจัง เลาเรียกชื่อเด็กหันหน้าไปที่เด็ก บอก ให้เด็กทำอะไรด้วยคำพูด (คำสั่ง) ที่ฟังง่ายและชัดเจนด้วย นั่งเสียงที่หนักแน่น เช่น ควรใช้คำพูด “นก เก็บของเล่นไว้ที่ชั้นของเล่น” แต่ไม่ควรใช้คำสั่ง “ทำไม่ลูกไม่เก็บของเล่น”

3. การใช้สิ่งทดแทน ในเด็กเล็กๆ เมื่อห้ามไม่ให้เด็กทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ควรมีสิ่งอื่นให้เด็กทำทดแทน หรือเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กไปเล่นหรือทำกิจกรรมที่น่าสนใจกว่า เช่น เด็กจะเอามือแหย่ปลั๊กไฟ เราอาจอุ้มเด็กไปเล่นในสนาม เป็นต้น

4. ให้เด็กแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องเป็นผู้รับฟังที่ดี ยอมรับและเคารพในความรู้สึกของเด็ก ทำให้เด็กรู้ว่าพ่อแม่รับฟังเขาอยู่ ถ้าเป็นไปได้สอนให้เด็กรู้จักคำที่ใช้บอก ความรู้สึกด้วย

5. ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี พ่อแม่ที่ไม่ต้องการให้เด็กพูดคำหยาบ พ่อแม่ก็ไม่ควรพูดคำหยาบ ให้เด็กได้ยินบ่อยๆ

6. การให้รางวัลและคำชมเชย ถ้าเด็กทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กควรชมเชย และให้รางวัลแก่เด็ก อาจพูดชม ให้ความสนใจและโอบกอด บางครั้งผู้ใหญ่มักละเลย ไม่ชื่นชมเมื่อเด็ก พยายามทำความดีเกรงว่าลูกจะเหลิง แต่ก็ไม่ควรชมเด็กจนพร่ำเพรื่อและเกินจริง ควรชมเชยและให้รางวัล ทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ดีและเหมาะสม การให้รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นของชิ้นใหญ่ที่มีราคาแพง ในเด็กเล็กเริ่มแรกอาจให้รางวัลเป็นขนม ต่อมาควรเปลี่ยนเป็นคำชมเชยและการโอบกอด แล้วจึงค่อยๆลดรางวัลลง จนกระทั่งเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับรางวัลหรือสิ่งตอบแทน

7. การเลิกให้ความสนใจ วิธีนี้จะได้ผลดีในการลด/หยุดพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น เด็กกรีดร้องและดิ้น ลงกับพื้น พ่แม่จะหยุดพฤติกรรมเด็กได้โดยการไม่สนใจ ไม่ดุว่าหรือโต้แย้ง และไม่แสดงอารมณ์โกรธตอบ ถ้าเด็กอยู่ในที่ที่ปลอดภัยให้เดินออกนอกห้องหรือหันไปสนใจทำอย่างอื่น สักครู่จนกว่าเด็กจะหยุดร้อง จึงเข้า มาหาเด็กและให้ความสนใจ วิธีนี้จะได้ผลดีในพฤติกรรมต่างๆ ด้วย เช่น กรีดร้องเสียงดัง บ่นเสียงดัง ตื้อ ขอของเล่น กลั้นใจ เป็นต้น

8. การลงโทษ สามารถลดและหยุดพฤติกรรมบางอย่างได้ แต่การใช้การลงโทษที่รุนแรงจะทำให้ เกิดผลเสียตามมาก็ได้ การลงโทษมีหลายวิธี ดังนี้
- การดุว่า จะได้ผลในเด็กเล็ก แต่อาจจะไม่ได้ผลในเด็กโต เพราะเด็กจะโต้กลับ แกล้งยั่วและด่า ตอบเพิกเฉยไม่สนใจ หรือยิ้มยั่วและพอใจที่ผู้ใหญ่ให้ความสนใจ แม้ในทางลบ

- การแยกตัวเด็กไปอยู่ตามลำพัง วิธีนี้เป็นการหยุดพฤติกรรมที่ไม่ดีบางอย่าง ด้วยการให้เด็ก ไปอยู่ในที่เงียบ น่าเบื่อ โดยดึงเด็กออกจากสถานการณ์หรือกิจกรรมที่เด็กสนใจ/ถูกใจ ไม่ให้สิทธิพิเศษ ไม่ให้ รางวัลกระทำทันทีที่เด็กประพฤติไม่ดี การแยกเด็กไปอยู่ตามลำพัง ไม่ควรนานเกิน 10 นาที โดยปกติใช้เวลา 1 นาที ต่ออายุ 2 ปี วิธีนี้จะได้ผลในเด็กอายุ 2-12 ปี จะให้วิธีนี้ในพฤติกรรมเหล่านี้ เช่น ร้องกรี๊ด ตีเด็กอื่น ขว้างปาของ ทำร้ายคนอื่น ฯลฯ

- การปรับ
หมายถึง การปรับสิ่งของ เงินทอง คะแนน หรือไม่ให้สิทธิพิเศษกับเด็ก หรือให้เด็ก ทำงานชดเชย (โดยเฉพาะงานที่เด็กไม่ชอบ )ตัวอย่างเช่น
พฤติกรรม การปรับ
ไม่แปรงฟัน งดกินช็อกโกแลต ลูกอม ขนมหวาน
พี่น้องทะเลาะกัน อดไปเที่ยวสวนสนุกตอนเย็น
ขี่จักรยานออกนอกถนน งดขี่จักรยาน 1 สัปดาห์
ไม่เก็บที่นอน อดไปเล่นที่บ้านเพื่อน
- การตี
เป็นวิธีหยุดพฤติกรรมไม่ดีที่ได้ผลดี เด็กจะกลัวและไม่ทำผิดอีก แต่มักได้ผลระยะสั้น ถ้าตีบ่อยๆ เด็กจะกลัวและโกรธตอบ บางครั้งเด็กจะโกหกเพื่อไม่ให้ถูกลงโทษ พ่แม่ที่ตีลูกบ่อยๆ มักรู้สึกโกรธ ขายหน้า กลัวควบคุมตัวเองไม่ได้ และอาจต้องการปลดปล่อยอารมณ์ของตนเอง แต่เมื่อตีลูกรุนแรง แม่จะรู้สึกผิด แล้วจะเข้ามาโอ๋และขอโทษเด็ก ซึ่งทำให้เด็กสับสน การลงโทษควรมีเหตุผล การใช้อารมณ์ตีเด็กด้วยความรุนแรง จะเกิดผลเสียตามมาได้ เด็กอาจดื้นไม้เรียวและเลียนแบบการใช้คยามรุนแรงในการแก้ไขปัญหาเมื่อเด็กโตขึ้น