วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รูปภาพระบายสีสำหรับเด็ก วันแม่แห่งชาติ

การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา
หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและกระบวนการตรวจสอบหรือการประเมินว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร การประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวข้องกับการดำเนินการที่สำคัญ 3  ขั้นตอนดังนี้...
1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control ) เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเพื่อให้สถานศึกษาตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นเป้าหมายและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาซึ่งหลักปฏิบัติทั่วไปมาตรฐานจะกำหนดโดยองค์คณะบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์2. การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit) เป็นการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดขึ้นมากน้อยเพียงไร และมีขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่าการจัดการศึกษาจะเป็นไปอย่างมีคุณภาพ
3. การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาโดยบุคลากรของสถานศึกษาหรือโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลในเขตพื้นที่และหน่วยงานต้นสังกัดในส่วนกลางที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา  

ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา
1. ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
2. ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ มีการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็น ที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน
3. ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำและความรู้ ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบและมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
4. กรรมการสถานศึกษาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ และมีส่วนพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชนและชุมชนร่วมกับผู้บริหารและครู สมควรที่ได้รับความไว้วางใจให้มาเป็นกรรมการสถานศึกษา
5. หน่วยงานที่กำกับดูแล ได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเองซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับ ดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษา
6. ชุมชนและสังคมประเทศชาติ ได้เยาวชนและคนที่ดี มีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยพัฒนาองค์กร ชุมชน และสังคมประเทศชาติต่อไป
7. ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการของหน่วยงาน 

SAR:
SAR : เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ภายในหน่วยงานให้บุคคลภายนอก และหรือบุคคลทั่วไปรับทราบ ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง แนวทางแก้ไข แนวทางเสริม เพื่อแก้ไขพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงาน ของหน่วยงาน SAR : ทำขึ้นเพื่ออะไร......
1. เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานของตนเองต่อผู้เกี่ยวข้อง และต่อสาธารณชน
2. เพื่อการตรวจสอบจากภายใน
3. เพื่อการตรวจสอบจากภายนอก

ใครเป็นผู้จัดทำ SAR
1. SAR ระดับบุคคล ครู ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และบุคลากรในหน่วยงานทุกคนต้องเขียน(แฟ้มงาน)
2. SAR ระดับโรงเรียน และหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้บริหารสถานศึกษา หรือหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต้องเป็นผู้จัดทำ โดยได้รับความร่วมมือจากครู และบุคลากรทุกคน ซึ่งต้องนำข้อมูลจาก SAR ระดับบุคคลมาสรุป แล้วเขียนเป็น SAR ระดับโรงเรียน ในการจัดทำ SAR ระดับโรงเรียนต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่าย และทุกคน
องค์ประกอบของ SAR 
1. ส่วนหน้า ประกอบด้วย
  • ปกหน้า
  • ปกรอง
  • คำนำ
  • สารบัญ
  • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
2. ส่วนนำ ประกอบด้วย
  • ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
  • ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย ของสถานศึกษา
  • หลักสูตรสถานศึกษา
  • ข้อมูลนักเรียน ครู และบุคลากร
  • โครงสร้างการบริหารสถานศึกษา
  • ผลงานเด่นในรอบปีการศึกษาของสถานศึกษา(ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา)
  • ระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษา
  • มาตรฐานและตัวบ่งชี้
3. ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้
  • สภาพการดำเนินงานรายตัวบ่งชี้แต่ละมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง พร้อมชี้จุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนา ตลอดทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในโอกาสต่อไป

การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษา หมายถึง แผนที่จัดทำอย่างเป็นระบบบนพื้นฐานของข้อมูลของสถานศึกษา ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจนครอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา....
และเป็นที่ยอมรับร่วมกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุผล ตามเป้าหมายของกิจกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
@ ความสำคัญของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2546 ซึ่งออกตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6 มาตรา 47 ที่กำหนดให้สถานศึกษาต้องมีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาด้วยกระบวนการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อันประกอบด้วย 8 ภารกิจหลัก ได้แก่
1. การจัดระบบการบริหารและสารสนเทศ
2. การพัฒนามาตราฐานการศึกษา
3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
5. การตรวจสอบและและทบทวนคุณภาพการศึกษา
6. การประเมินคุณภาพการศึกษา
7. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
8. การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

เพื่อให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและความต้องการของชุมชน ในกฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยคำนึงถึงหลักและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้
1. เป็นแผนที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพ ปัญหา และความจำเป็นอย่างเป็นระบบและมี แผนการปฏิบัติการประจำปีรองรับ
2. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
3. กำหนดวิธีการดำเนินงานที่มีหลักวิชาการ หรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ อ้างอิงได้ ให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ กี่ส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
4. กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผู้เรียนรับผิดชอบ และ ดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
6. กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคลากรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
7. กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

@ วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษา
1. เพื่อให้เป็นแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2. เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาได้รับรู้ทิศทาง เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
3. เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม และการร่วมคิดร่วมทำระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา
4. เพื่อเป็นหลักประกันในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

@ ขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1. เตรียมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
    - จัดตั้งคณะทำแผน
    - ทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่
    - ประสานความร่วมมือ
    - วางแผนการทำงาน
2. ประเมินความต้องการและความจำเป็นของสถานศึกษา
    - ทำความเข้าใจวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษา
    - จัดทำภาพรวมของสถานศึกษา
    - สำรวจความต้องการด้านการศึกษาของผู้เรียน
    - วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการด้านการศึกษาของผู้เรียน และกำหนดประเด็นสำคัญของการพัฒนา
3. วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และพิจารณากำหนดแนวทางในการแก้ไข
    - ทบทวนประเด็นสำคัญ
    - ตัดสินใจเลือกประเด็นที่จะดำเนินการ
    - เขียนเป้าหมายการพัฒนา
    - เขียนยุทธศาสตร์ในการพัฒนา
4. กำหนดแผนปฏิบัติการรายปี
    - กำหนดแผนปฏิบัติการรายปี
    - ตรวจสอบความเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการรายปี
5. เขียนแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของสถานศึกษา
    - แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการเขียน ตามความถนัดหรือตามอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมาย
    - ตรวจสอบความถูกต้องและความสอดคล้อง
    - จัดพิมพ์
6. ปฏิบัติตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

@ ส่วนประกอบของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษา1. ปก
2. คำนำ 
3. สารบัญ
4. ภาพรวมของสถานศึกษา ประกอบด้วย
   4.1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วย
   - ประวัติสถานศึกษา จำนวนนักเรียน ครูและบุคลากร อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค โครงสร้างการบริหาร หลักสูตรและการใช้หลักสูตร ฯลฯ
   - ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน สถานที่ตั้ง สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ ความร่วมมือของชุมชน เป็นต้น
   4.2 การดำเนินงานของสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยกล่าวถึงความสำเร็จที่โดดเด่นที่สถานศึกษาภาคภูมิใจ  ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับประเทศ และระดับอื่นๆ เป็นต้น นอกจากนี้ควรนำเสนอผลการดำเนินงานเกี่ยวกับ หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดองค์การ การบริหารจัดการ การพัฒนาวิชาชีพครู สิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน
   4.3 สรุปสถานภาพปัจจุบันของสถานศึกษา และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชี้ให้เห็นสภาพจุดเด่นของสถานศึกษา สภาพปัญหาอุปสรรคและจุดด้อยของสถานศึกษา สิ่งที่ท้าทายความสามารถของสถานศึกษาและประเด็นสำคัญที่สถานศึกษากำหนดเพื่อการพัฒนาในระยะต่างๆ

แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ไม่ได้กำหนดตายตัวว่า รอบระยะเวลาของแผนจะครอบคลุมกี่ปี ทั้งนี้ให้อยู่กับดุลพินิจของสถานศึกษาที่จะกำหนดรอบระยะเวลาได้ตามความเหมาะสมและวิธีปฏิบัติของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งอาจกำหนดระยะ 3-5 ปี ก็ได้
5. เจตนารมณ์ของสถานศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจในปณิธานที่สถานศึกษาและชุมชนยึดมั่นและหล่อมหลอมเป็นแนวปฏิบัติของสถานศึกษาที่มุ่งสู่คุณภาพของผู้เรียน บางครั้งอาจเขียนอยู่ในลักษณะปรัชญา อุดมการณ์ คำขวัญ คติพจน์ ของสถานศึกษาก็เป็นได้
6. ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ขั้นตอนนี้เริ่มเข้าสู่การวางแผนการพัฒนาเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ฉะนั้นจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ต้องใช้เวลาในการทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา ในขั้นนี้จะพบว่าในการดำเนินงานมิใช่จะราบรื่นเนื่องจากข้อมูลอาจมีปัญหา เช่น ข้อมูลที่ไม่มีความสมบูรณ์ ข้อมูลไม่ตรงกัน ขัดแย้งกัน หรือไม่ชัดเจน ฉะนั้นจะต้องมีการอภิปรายนัยของข้อมูลกันอย่างกว้างขวาง การใช้คณะผู้ทบทวนมากกว่า 1 คณะ มาตรวจสอบข้อมูลจะมั่นใจในความถูกต้อง ในการ วิเคราะห์ข้อมูลจะต้องอภิปรายและร่วมตัดสินใจ ทั้งนี้อาจใช้เทคนิคในการวิเคราะห์สถานศึกษาเข้ามาช่วย เช่น การสำรวจความคิดเห็น เทคนิคการรวมพลังสร้างสรรค์องค์กร ( Appreciation Influence Control : AIC) เทคนิคการวิเคราะห์ศักยภาพองค์กร (Strength Weakness  Opportunity Threats : SWOT) หรืออาจเป็นเทคนิคอื่นๆ ที่เอื้อต่อการให้ทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด หลังจากนั้นก็นำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ ( Vision ) การกำหนดพันธกิจ (Mission) การกำหนดเป้าหมาย (Goal) การกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategice) และจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา (School priorities)

   6.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ เป็นการคาดหวังสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสอดคล้อกับ สภาพการที่สนองเจตนารมณ์ของสถานศึกษาและความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน
   6.2 การกำหนดพันธกิจ เป็นบทบาทหลักและพันธะที่สถานศึกษาต้องดำเนินการเพื่อพัฒนาให้ถึงวิสัยทัศน์
   6.3 การกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้พันธกิจที่กำหนดเป็นไปได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น สถานศึกษาต้องกำหนดเป้าหมายให้ครอบคลุมพันธกิจที่สถานศึกษาต้องดำเนินการในระดับนี้เป็นผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาคาดหวังจะบรรลุภายในช่วงเวลาที่กำหนด ลักษณะการเขียนยังเป็นผลลัพธ์กว้างๆ
   6.4 การกำหนดจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยนำเป้าหมายของสถานศึกษามาจัดอันดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการในการพัฒนาเพื่อนำมากำหนดจุดเน้นการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา
   6.5 การกำหนดยุทธศาสตร์ เป็นแนวทางหรือวิธีการต่างๆ ที่จะนำสถานศึกษาไปสู่การบรรลุผลตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่กำหนด
   6.6 การกำหนดสภาพความสำเร็จ เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์จะประสบผลสำเร็จผู้รับผิดชอบแลผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจถึงความสำเร็จของงาน
7. แผนปฏิบัติการประจำปี หรือแผนย่อยของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาเพื่อลงสู่การปฏิบัติหรือแผนปฏิบัติงาน ( Action plan ) ที่ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการสอดคล้องกับเป้าหมาย ยุทธศาสตร์หรือวิธีการดำเนินงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ กรอบเวลา ผู้รับผิดชอบและงบประมาณ รูปแบบการเขียนนิยมใช้ตารางซึ่งจะช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงตั้งแต่เป้าหมายยุทธศาสตร์ จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้รับผิดชอบ กรอบเวลา และงบประมาณ
8. การระดมทรัพยากร แหล่งสนับสนุนงบประมาณ และสรุปงบประมาณในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะบอกจำนวนงบประมาณที่จะใช้ในรอบปีการศึกษาและแหล่งที่สถานศึกษาจะสามารถระดมทรัพยากร และการสนับสนุนด้านงบประมาณได้